😐อาการ #ปวดหลัง เรื้อรัง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะซึมเศร้า?
อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain) เป็นปัญหาที่พบบ่อยครั้ง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเคยมีอาการปวดหลังส่วนล่าง ซึ่งมีผลจำกัดช่วงการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมในชีวิตประจำวันมากน้อยต่างกัน หากสามารถหาสาเหตุและปรับแก้ไขตามอาการได้อาจช่วยป้องกันอาการปวดเรื้อรัง
อาการปวดหลังส่วนล่างมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ น้ำหนักของร่างกาย โดยพบว่าผู้ที่มีดรรชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 30 BMI นั้น สัมพันธ์กันกับโอกาสการเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่น รวมถึงปัจจัยทางด้านจิตใจเช่น ความกังวล, ความเครียด รวมถึงภาวะซึมเศร้าด้วย อย่างไรก็ตามแม้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลของปัจจัยดังกล่าวต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง แต่พอจะชี้ได้ว่าปัจจัยทางจิตใจเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กับภาวะปวดหลังที่อาจนำไปสู่ภาวะปวดหลังเรื้อรังได้
😁 หมายเหตุ: คนที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง ไม่จำเป็นต้องมีภาวะซึมเศร้าด้วยเสมอไป /...สบายใจและ หากแต่ถ้าท่านมีปัญหาปวดหลังเรื้อรัง (หรือไม่มีภาวะปวดหลังเรื้อรัง) ก็สามารถลองทำแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า https://tinyurl.com/rqc87jb เพื่อประเมินตนเองในเบื้องต้น ซึ่งอาจช่วยให้ท่านเข้าใจปัญหาและทราบแนวทางในการรักษาสำหรับตัวท่านเองเพิ่มขึ้นนั่นเอง
👨⚕️คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับการจัดอาการปวดหลังส่วนล่างจากการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ท่าเรื่ิมต้น: ท่านั่ง 🎯 Back Extension: แอ่นหลังส่วนล่าง โดยใช้มือช่วยยันบริเวณกระเบนเหน็บ 🎯 Lateral Side Bends: ชูมือขึ้น หมุนเข้าหาลำตัว แล้วยืดลำตัวด้านเดียวกัน ทำสลับข้าง 🎯 Thoracic Extension Stretch: มือประสานท้ายทอย ไม่กดศีรษะ ยกศอกขึ้น-ลงพร้อมกัน ทำค้างไว้ 5-10 วินาที 1-2 ครั้ง
ℹระดับความรุนแรงและสาเหตุมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล หากทำแล้วมีอาการแย่ลงควรงดและปรึกษานักกายภาพบำบัด
โอกาสต่อไปจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่างมาให้ได้อ่านกันเพิ่มเติม
ขอบคุณ แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี การประเมินนี้เป็นการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าในขั้นต้นฯ
กภ.ฐิติพงศ์
ปวดหลังเรื้อรัง สอบถามเพิ่มเติมที่ 👨💻ThitipongClinic ฐิติพงศ์คลินิกกายภาพบำบัด Thitipong Physical Therapy Clinic 081-091-8597
Kommentare