top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนThitipong

EP.20 อาการปวดด้านหน้าเข่า วิ่งย้ำเท่าไหร่ก็ไม่หาย?



อาการปวดด้านหน้าเข่า วิ่งย้ำเท่าไหร่ก็ไม่หาย?: ความสำคัญของกล้ามเนื้อ Vastus Medialis Oblique; VMO ในนักวิ่ง


ในบทความนี้ จะขอเล่าเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ Vastus Medialis Oblique หรือเรียกกันโดยย่อว่า VMO และกลุ่มอาการบาดเจ็บลูกสะบ้าใต้เข่า (Patellofemoral pain syndrome) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยเมื่อมีอาการปวดด้านหน้าเข่า

.

โดยพบว่า ในนักวิ่งที่มีอาการปวดด้านหน้าเข่ามักเป็นเหตุให้ทำกิจกรรมทางกายได้อย่างจำกัด กล่าวคือ อาจวิ่งได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถคงประสิทธิภาพการวิ่งไว้ได้ เป็นต้น

.

อย่างไรก็ตามกล้ามเนื้อมัดนี้เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งต่ออาการปวดด้านหน้าเข่า เนื่องจากลักษณะการวางตัวของกล้ามเนื้อจะเกิดแนวแรงดึงให้กระดูกสะบ้าเลื่อนเข้าด้านในเฉียงขึ้นทำมุม 35° องศากับระนาบแนวตั้ง (Coronal plane) หากกล้ามเนื้อมัดนี้แข็งแรงไม่เพียงพอ เมื่อเหยียดเข่าเป็นมุม 0° - 15° จะทำให้กระดูกสะบ้าเลื่อนออกทางด้านนอกแทน

.

นอกจากนี้ อาการบาดเจ็บลูกสะบ้าใต้เข่าในนักวิ่งนั้นมีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดดังกล่าว เนื่องจากพบว่ากล้ามเนื้อ VMO ในนักวิ่งที่มีอาการปวดด้านหน้าเข่า จะมีอาการล้าของกล้ามเนื้อ VMO มากกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอาการปวดด้านหน้าเข่า

.

ดังนั้น การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ VMO เพื่อเพิ่มความทนทานให้กล้ามเนื้อ ร่วมกับกล้ามเนื้อมัดอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นแนวทางสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะในกรณีนี้

.

จึงพอที่จะอธิบายได้ว่า เหตุใดการวิ่งย้ำๆ แบบเดิม จึงไม่สามารถทำให้อาการปวดหายไป ซึ่งในการกลับกันอาจยิ่งปวดเพิ่มขึ้น หรือแม้แต่การหยุดพัก ซึ่งอาจทำให้อาการดีขึ้นเพียงชั่วคราว และมีอาการปวดเช่นเดิมอีกเมื่อกลับไปวิ่ง เป็นต้น

.

.

แปลและเรียบเรียงโดย

กภ.ฐิติพงศ์

.

#ขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจ #ฐิติพงศ์คลินิกกายภาพบำบัด

#กายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต #ในยาง

.

สอบถามเพิ่มเติม

👨‍💻ThitipongClinic

#ฐิติพงศ์คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต

Thitipong Physical Therapy Clinic

ที่ตั้ง #คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต

112 #สาค#ถลาง #ภูเก็ต

Line: http://nav.cx/5o54UZu

.

.

🔎Reference:

[] Gawda, Piotr, et al. "Bioelectrical activity of vastus medialis and rectus femoris muscles in recreational runners with anterior knee pain." Journal of human kinetics 66 (2019): 81.

[] Sakai, Naotaka, et al. "The influence of weakness in the vastus medialis oblique muscle on the patellofemoral joint: an in vitro biomechanical study." Clinical Biomechanics 15.5 (2000): 335-339.

[] Waryasz, Gregory R., and Ann Y. McDermott. "Patellofemoral pain syndrome (PFPS): a systematic review of anatomy and potential risk factors." Dynamic medicine 7.1 (2008): 9.



ดู 347 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page