top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนThitipong

อาการปวดคอ: ปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบต่อการทรงตัว | EP24

อัปเดตเมื่อ 20 เม.ย. 2566

ปัจจัยเสี่ยงและผลจากอาการปวดคอเรื้อรัง


ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดคอประการหนึ่ง คือ ปัจจัยเสี่ยงจากการนั่งทำงานหรืองานที่มีการโน้มตัวเป็นประจำ โดยลักษณะงานเป็นการเคลื่อนไหวซ้ำๆ มีการออกแรงเพื่อยกหรือย้ายภาระ (ของหนัก)

นอกจากนี้ยังพบว่า เพศหญิงและการพบประวัติว่าเคยมีอาการบริเวณคอ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยซึ่งใช้คาดการณ์การเริ่มต้นของอาการปวดคอได้ (อาการปวดคอ อาจหมายถึง ความแข็งตึงของกล้ามเนื้อ ความล้า อาการชา เป็นต้น ทั้งนี้ยังไม่อาจระบุเพียงอาการใดอาการหนึ่งว่าเป็นปัจจัย สำหรับใช้คาดการณ์การเริ่มต้นของอาการได้)

การนั่งทำงาน โดยมีลักษณะพฤติกรรมการนั่งรวมถึงมีลักษณะทางการยศาตร์ของสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมนั้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อเหยียดคอทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งไปเพิ่มแรงกดภายในต่อหมอนรองกระดูกคอ เอ็น ปลอกหุ้มข้อ และโครงสร้างอื่นๆบริเวณกระดูกคอนั่นเอง

ดังนั้น การทราบปัจจัยเสี่ยงซึ่งเกี่ยวข้องกับอาการปวดคอและลักษณะการเริ่มต้นของอาการปวดคอนั้น จึงมีความสำคัญในแง่การป้องกันการเกิดอาการปวดคอ ก่อนเปลี่ยนระยะไปสู่อาการปวดคอเรื้อรัง


ผลของอาการปวดคอเรื้อรัง

อาการปวดคอเรื้อรังนั้น นอกจากมีผลเกี่ยวเนื่องต่อการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อที่เปลี่ยนแปลงไป และช่วงการเคลื่อนไหวของคอที่จำกัดทำให้คุณภาพชีวิตถอยลงแล้ว ยังส่งผลให้การรับรู้ท่าทางของข้อต่อน้อยลง ซึ่งทำให้การทรงท่า (ทรงตัว) ถูกรบกวนอีกด้วย ทั้งนี้เพราะโครงสร้างบริเวณคอนั้น มีบทบาทสำคัญในการส่งประสาทการรับรู้ท่าทางของข้อต่อไปยังประสาทส่วนกลาง เพื่อปรับตำแหน่งของศีรษะและปรับการทรงท่า ด้วยเหตุนี้การปวดคอเรื้อรังจึงส่งผลให้การทรงตัวแย่ลงด้วย

ดังนั้น ในการบำบัดรักษาอาการปวดคอเรื้อรัง นอกจากการรักษาเพื่อลดอาการปวดของบริเวณแล้ว การกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อโดยหวังเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อบริเวณคอในผู้ที่มีอาการปวดคอเรื้อรังนั้น จึงควรทำควบคู่กันไป เพื่อช่วยให้การทรงท่านั้นๆสามารถควบคุมเพิ่มขึ้นไปได้ด้วยกันทั้งหมด

.

#จะไม่หยุดเคลื่อนไหวถ้ายังไม่ถึงเวลาพัก

.

.

แปลและเรียบเรียงโดย

กภ.ฐิติพงศ์

.

#ขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจ #ฐิติพงศ์คลินิกกายภาพบำบัด

#กายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต #ในยาง

.

👨‍💻ThitipongClinic

Thitipong Physical Therapy Clinic

ที่ตั้ง 112 #คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต #ถลาง #สาค

.

.

.

🔎Reference:

[] Hsu, W. L., Chen, C. P., Nikkhoo, M., Lin, C. F., Ching, C. T. S., Niu, C. C., & Cheng, C. H. (2020). Fatigue changes neck muscle control and deteriorates postural stability during arm movement perturbations in patients with chronic neck pain. The spine journal, 20(4), 530-537.


[] Genebra, C. V. D. S., Maciel, N. M., Bento, T. P. F., Simeão, S. F. A. P., & De Vitta, A. (2017). Prevalence and factors associated with neck pain: a population-based study. Brazilian journal of physical therapy, 21(4), 274-280.


[] Eltayeb, S., Staal, J. B., Kennes, J., Lamberts, P. H., & de Bie, R. A. (2007). Prevalence of complaints of arm, neck and shoulder among computer office workers and psychometric evaluation of a risk factor questionnaire. BMC musculoskeletal disorders, 8(1), 68.



bottom of page