อาการปวดน่องอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ แต่ในครั้งนี้ขอยกเฉพาะอาการปวดกล้ามเนื้อน่องด้านในแบบฉับพลัน
⚕อาการปวดน่องด้านในแบบฉับพลัน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในนักวิ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มนักวิ่งที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มักมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บบริเวณน่องได้สูง ขณะที่กลุ่มนักวิ่งอายุน้อยกว่าจะมีอัตราการบาดเจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวายสูงกว่า
👉ลักษณะอาการ
ในกรณีที่มีการบาดเจ็บมาก จะมีอาการบวมบริเวณกล้ามเนื้อน่องโดยเฉพาะตรงรอยต่อช่วงต้นของกล้ามเนื้อน่องกับเอ็นร้อยหวาย แต่หากเกิดการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย จะมีเพียงจุดเจ็บเมื่อกดโดน หรือออกแรงกล้ามเนื้อมัดนั้น แต่ไม่มีการบวดปรากฏ
👉สาเหตุ
อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นนั้น มักเกิดภายหลังการวิ่งอย่างเร็วในระยะสั้นๆ หรือ การกระโดด โดยเฉพาะในช่วงระหว่างการเร่งความเร็ว
👨⚕️การรักษาและแก้ไขในเบื้องต้น
🎯 ควรประคบเย็นภายใน 24ชม แรก หลังการบาดเจ็บ
🎯 หนุนขาสูงกว่าระดับอกเล็กน้อย เมื่อนอนพัก
ปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด หากอาการไม่ดีขึ้น
👉 ช่วงเวลาการฟื้นฟู
ระยะเวลาหลังการบาดเจ็บจนสามารถกลับไปทำกิจกรรมได้นั้น
🎯อยู่ระหว่างช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ จนถึง 3-4 เดือน หลังการบาดเจ็บบริเวณน่อง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็
Anatomy:
กลุ่มกล้ามเนื้อชั้นตื้นซึ่งอยู่ทางด้านหลังของกระดูกหน้าแข้ง เป็นกลุ่มกล้ามที่น่องซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 3 มัด คือ
[ ] Gastrocnemius (medial and lateral heads),
[ ] Plantaris,
[ ] และ Soleus.
โดยกล้ามเนื้อ Gastrocnemius และ Plantaris นั้นรับหน้าที่ในการงอเข่าและเหยียดข้อเท้า
ส่วนกล้ามเนื้อ Soleus ทำหน้าที่ในการเหยียดข้อเท้าอย่างเดียว
*ภาพประกอบแสดงลักษณะกล้ามเนื้อที่ถูกยืด ไม่ใช่ท่าหรือวิธีเพื่อแสดงการรักษา
สอบถามเพิ่มเติม 👨💻ThitipongClinic ฐิติพงศ์คลินิกกายภาพบำบัด Thitipong Physical Therapy Clinic 081-091-8597
#กายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด #ในยาง#ภูเก็ต #ปวดน่อง #Thitipongclinic #functionalmovement#physio #rehab #health #exercise #healthy#pain #lifestyle #naiyang#phuket #physiotherapist #physical #therapy
Reference: Fields, K. B., & Rigby, M. D. (2016). Muscular calf injuries in runners. Current sports medicine reports, 15(5), 320-324. Kane, D., Balint, P. V., Gibney, R., Bresnihan, B., & Sturrock, R. D. (2004). Differential diagnosis of calf pain with musculoskeletal ultrasound imaging. Annals of the rheumatic diseases, 63(1), 11-14.
Comentários