top of page
Search
  • Writer's pictureThitipong

EP.14 กล้ามเนื้อบาดเจ็บเฉียบพลัน (Acute muscle injury)

Updated: Mar 3, 2020



อาการปวดจากกล้ามเนื้อบาดเจ็บเฉียบพลัน มักพบได้ในนักกีฬาและผู้ที่เริ่มออกกำลังกาย ซึ่งเกิดจากแรงปะทะ แรงกระแทก หรือแรงยืด-หดกล้ามเนื้อ จนเกิดการบาดเจ็บของใยกล้ามเนื้อ หรือเอ็นซึ่งต่อกับกล้ามเนื้อได้

.

สามารถแบ่งลักษณะการบาดเจ็บได้เป็น 2 ลักษณะ

1️| Direct trauma: การบาดเจ็บที่เกิดโดยตรง (แรงภายนอก) จากการกระแทกจนเห็นลักษณะฟกช้ำ หรือรุนแรงจนเกิดแผลเปิด

2️| Indirect trauma: การบาดเจ็บที่เกิดทางอ้อม (แรงภายใน) จากการที่กล้ามเนื้อถูกยืดออกในทันที เกินกว่าช่วงยืด*ของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ (Muscle Tear) และอาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย (Delayed onset muscle soreness; DOMS)

.

กล้ามเนื้อฉีกขาด (Muscle Tear); Structural muscle injury

.

การฉีกขาดของกล้ามเนื้อมักเกิดบริเวณรอยต่อของเอ็นกับกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นการบาดเจ็บที่เกิดทางอ้อมจากแรงดึงภายใน โดยเฉพาะในกล้ามเนื้อที่เกาะระหว่าง 2 ข้อต่อ และมีปริมาณใยกล้ามเนื้อชนิด Type II fiber ในเปอร์เซ็นสูงที่มักเกิดการบาดเจ็บ จัดเป็นการบาดเจ็บเชิงโครงสร้างของกล้ามเนื้อแบบ Type 3 และ Type 4

ลักษณะอาการปวด: ปวดแหลม, ปวดเหมือนโดนทิ่ม รวมถึงอาจปวดตื้อตลอดเวลา

ควรพบแพทย์ และอาจต้องฟื้นฟูสมรรถภาพหากต้องการกลับไปออกกำลังกาย

.

อาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย (Delayed onset muscle soreness; DOMS); Functional muscle disorder

.

เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อหลังการเริ่มออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา โดยเฉพาะการออกกำลังกายครั้งแรก การเล่นกีฬาอย่างหักโหม หรือเพิ่มเวลาการเล่นมากกว่าเดิม และการออกกำลังกายแบบหดตัวของกล้ามเนื้อมีความยาวเพิ่มขึ้น (Eccentric exercise) เช่น การวิ่ง (running) และการวิ่งระยะสั้น (sprinting)

.

โดยจะเกิดอาการขึ้นเมื่อผ่าน 24 ชม.แรก สูงสุดที่ 48-72 ชั่วโมงหลังการออกกำลังกายซึ่งมีการอักเสบ และเกิดการบวม จัดเป็นการบาดของกล้ามเนื้อแบบ Type 1

.

ลักษณะอาการและอาการแสดง:

[] ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง (Decreased muscle strength)

[] ปวดกล้ามเนื้อ (Pain)

[] มีจุดกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ (Muscle tenderness)

[] ตึงแข็ง จำกัดการเคลื่อนไหว (Stiffness/Decreased range of motion)

[] บวม (Swelling)

.

โดยอาการจะลดลงภายใน 96 ชั่วโมงจนถึง 7 วัน

.

#จะไม่หยุดเคลื่อนไหวถ้ายังไม่ถึงเวลาพัก

____________________

.

เรียบเรียงโดย

กภ.ฐิติพงศ์

#ขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจ #ฐิติพงศ์คลินิกกายภาพบำบัด

#กายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด #ในยาง #ภูเก็ต

.

สอบถามเพิ่มเติม

𝗧𝗵𝗶𝘁𝗶𝗽𝗼𝗻𝗴𝗖𝗹𝗶𝗻𝗶𝗰

#ฐิติพงศ์คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต

Thitipong Physical Therapy Clinic


ที่ตั้ง #คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต #ถลาง #สาคู 112

.

.

Reference:

[] Maffulli, Nicola, and Angelo Del Buono. "Muscle Strains: Pathophysiology and New Classification Models." Nuclear Medicine and Radiologic Imaging in Sports Injuries. Springer, Berlin, Heidelberg, 2015. 939-948.

[] Malanga, Gerard A., Ning Yan, and Jill Stark. "Mechanisms and efficacy of heat and cold therapies for musculoskeletal injury." Postgraduate medicine 127.1 (2015): 57-65.

[] Veqar, Zubia, and R. Kalra. "Causes and management of delayed onset muscle soreness: A review." Elixir Human Physio 55 (2013): 13205-11


72 views0 comments
bottom of page