top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนThitipong

EP.19 “หัวใจวายขณะวิ่ง”: ข้อควรทราบก่อนออกกำลังกาย


การวิ่งเป็นกิจกรรมทางกายอย่างหนึ่ง ที่ช่วยเพิ่มความทนทานของระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต กิจกรรมทางกายที่มีการเปลี่ยนแปลงความยาวกล้ามเนื้อลายเป็นจำนวนมาก เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ หรือการปั่นจักรยานนั้น ร่างกายจะมีการใช้ออกซิเจนมากขึ้น ปริมาณเลืิอดที่ออกจากการบีบตัวของหัวใจจึงเพิ่มขึ้น ชีพจรเพิ่มขึ้น ในขณะที่แรงต้านในหลอดเลือดแดงเล็กลดลง จึงทำให้เลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายเพิ่มขึ้น แต่ความหนักและนานของกิจกรรมทางกายนี้ ทำให้เกิดภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น หากมีโรคหัวใจและหลอดเลือดซ่อนอยู่ ซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือชะงักไป ก็อาจเกิดอาการแน่นหน้าอก หมดสติหรือหัวใจวายตามมาได้ เช่น ในการวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะทางไกล อย่างนักวิ่งมาราธอน เป็นต้น

.

โดยนักวิ่งที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น พบว่าวิ่งที่ความเร็ว 10 กม./ชม. ส่วนมากมักจะเกิดอาการในช่วงครึ่งหลังของระยะทางก่อนเข้าเส้นชัย และมีอายุมากกว่า 35 ปี

.

การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อประเมินภาวะและความเสี่ยงสุขภาพ ยังเป็นข้อแนะนำ เพื่อให้ออกกำลังกายเป็นไปอย่างเหมาะสม ปลอดภัย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด, เบาหวาน หรือโรคไต ซึ่งกำลังจะเริ่มออกกำลังกายหรือกำลังปรับเพิ่มความหนักในการออกกำลังกาย จากระดับปานกลางไปเป็นระดับหนัก (Vigorous-intensity exercise)

.

นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบสมรรถภาพทางกาย โดยเฉพาะการทดสอบความทนทานของระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต ซึ่งทดสอบด้วยการออกกำลังกายในระดับตํ่ากว่าความสามารถสูงสุด (submaximal test) สำหรับใช้ประมาณค่าปริมาณสูงสุดของการใช้ออกซิเจนของร่างกาย (VO2 max) เพื่อทราบสมรรถภาพทางกายปัจจุบันและเป็นแนวทางในการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย ในการเตรียมร่างกายให้มีความพร้อมก่อนการวิ่ง ทั้งระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจ ซึ่งทดสอบได้ไม่ยาก

.

การทราบค่าปริมาณสูงสุดของการใช้ออกซิเจนของร่างกาย (VO2 max) ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบระดับสมรรถภาพทางกายกับมาตรฐาน ซึ่งแจกแจงตามอายุและเพศ การทราบค่าดังกล่าวช่วยกำหนดกรอบระดับความหนักในการออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มค่า VO2 max นั้น ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกายและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

.

ในเบื้องต้นนั้น สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป อาจลองประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจและหลอดเลือดในระยะเวลา 10 ปี (Thai CV risk score) ได้จาก https://tinyurl.com/y4nbxofo ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบว่าท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงใด และมีข้อแนะนำในเบื้องต้นอย่างไร

.

.

👉สำหรับผู้ที่จะเริ่มออกกำลังกาย [ผู้ที่ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด, เบาหวาน หรือโรคไต] และ [ไม่มีอาการขณะพักหรือทำกิจกรรม ดังต่อไปนี้ เจ็บแน่นหน้าอก; หายใจบากขณะพัก หรือ ออกแรงเล็กน้อย; มึนศีรษะ หรือ เป็นลมหน้ามืด; นอนราบแล้วมีอาการเหนื่อย หรือ อาการเหนื่อยขึ้นฉับพลันทันทีขณะที่นอนหลับไปแล้ว; ข้อเท้าบวม; ใจสั่น หรือ หัวใจเต้นเร็ว; ฯ เป็นต้น]

ตามคำแนะนำของ ACSM ให้เริ่มจาก Light-intensity exercise ถึง Moderate-intensity exercise ก่อน แล้วจึงค่อยปรับเพิ่มเป็น Vigorous-intensity exercise

.

🎯Light-intensity exercise: การออกกำลังกายที่อัตราการเต้นของหัวใจตั้งแต่ 30% - น้อยกว่า 40% ของอัตราชีพจรสำรอง (Heart rate reserve; HRR)

.

🎯Moderate-intensity exercise: การออกกำลังกายที่อัตราการเต้นของหัวใจตั้งแต่ 40% - น้อยกว่า 60% ของอัตราชีพจรสำรอง (Heart rate reserve; HRR)

.

🎯Vigorous-intensity exercise: การออกกำลังกายที่อัตราการเต้นของหัวใจตั้งแต่ 60% ของอัตราชีพจรสำรอง (Heart rate reserve; HRR) ขึ้นไป

คำนวณอัตราชีพจรสำรอง https://tinyurl.com/y4a9dwyw

.

👉 หรือ ตามคำแนะนำกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ

.

.

แปลและเรียบเรียงโดย

กภ.ฐิติพงศ์

.

#ขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจ #ฐิติพงศ์คลินิกกายภาพบำบัด

#กายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด #ในยาง #ภูเก็ต

.

สอบถามเพิ่มเติม 👨‍💻ThitipongClinic

#ฐิติพงศ์คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต

Thitipong Physical Therapy Clinic

ที่ตั้ง #คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต #ถลาง #สาคู 112

.

.

🔎Reference:

[] Chugh, Sumeet S., and Joseph B. Weiss. "Sudden cardiac death in the older athlete." Journal of the American College of Cardiology 65.5 (2015): 493-502.

[] Riebe, Deborah, et al. "Updating ACSM's recommendations for exercise preparticipation health screening." (2015): 2473-2479.

[] Shirakawa, Toru, et al. "Analysis of Sudden Cardiac Arrest during Marathon Races in Japan." International Journal of Clinical Medicine 8.07 (2017): 472.



ดู 14 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page