ℹ สภาพแวดล้อม หรือ พฤติกรรม ℹ
ต้องขอเล่าช่วงระยะเวลาเกือบ 2 เดือนที่ผ่านมาสักเล็กน้อยว่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบได้จากผู้เข้ารับบริการทางกายภาพบำบัดของคลินิกนั้น คือ อาการปวดบริเวณคอและปวดหลังส่วนล่าง (ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ) แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่พอคาดเดากันได้ แต่ประเด็นสำคัญอาจต้องย้อนไปมองและทำความเข้าใจวิธีการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพด้วยอีกทางหนึ่ง .
👉 ท่านั่งเป็นท่าที่มักใช้งานบ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้โต๊ะนั่งทำงาน ขับรถ หรือแม้กระทั่งการนั่งรอ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การนั่งจึงจำกัดช่วงเวลาในการเคลื่อนไหวร่างกายจากกิจกรรมอื่นๆ (เช่น การยืน, กิจกรรมกลางแจ้ง หรือกิจกรรมที่ต้องออกแรงปานกลางจนถึงหนัก) .
👉 นอกจากนี้การออกแบบอาคาร ซึ่งมักใช้พื้นฐานของหลักการสงวนพลังงาน (human energy conservation) จึงไม่แปลกที่ภายในอาคารส่วนใหญ่จะมีตัวเลือกเป็นลักษณะของที่นั่งมากมายให้เลือกนั่ง .
อย่างไรก็ตาม มีความพยายามในออกแบบและปรับเปลี่ยนลักษณะสถานที่ทำงาน (Workplace) ให้เอื้อต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายมากขึ้น อย่างน้อยที่สุด คือ พบว่าสามารถลดระยะเวลานั่ง ให้ไปเพิ่มเป็นเวลายืนระหว่างช่วงเวลางานได้ . จะเห็นได้ว่า
🎯 สิ่งแวดล้อมก็มีผลต่อกิจกรรมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว แม้สิ่งแวดล้อมหรือลักษณะงานอาจไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนท่าทาง แต่หากลองตั้งใจว่าจะ
“ยืนขึ้นบ้าง นั่งให้น้อย ขยับเยอะๆ” ------------------------------
ก็อาจช่วยลดเวลาในการนั่งตลอดวันลงได้ .
เรียบเรียงโดย กภ.ฐิติพงศ์
. สอบถามเพิ่มเติม 👨💻ThitipongClinic ฐิติพงศ์คลินิกกายภาพบำบัด Thitipong Physical Therapy Clinic 081-091-8597
#ปวดหลัง #ปวดคอ #ระยะเวลานั่ง #ปรับท่านั่ง #officesyndrome #กายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด #ในยาง #ภูเก็ต #Thitipongclinic #functionalmovement #physio #rehab #health #exercise #healthy #pain #lifestyle #naiyang #phuket#physiotherapist #physical #therapy
🔎Reference: [ ] Gorman, Erin, et al. "Does an ‘activity-permissive’workplace change office workers’ sitting and activity time?." PloS one 8.10 (2013): e76723. [ ] Healy, Genevieve N., et al. "Reducing sitting time in office workers: short-term efficacy of a multicomponent intervention." Preventive medicine 57.1 (2013): 43-48.
Komentar